เมื่อเวลา 13.00 นคำพูดจาก ฟรี เกมสล็อตทดลองเล่น. ที่อู่รถโดยสาร (รถเมล์) สาย 8 แฮปปี้แลนด์-สะพานพุทธ ถนนนวมินทร์ น.ส.ฑิราภรณ์ เมธิสริยพงศ์ อายุ 51 ปี ผู้จัดการบริษัท ไทยบัส ขนส่ง จำกัด หนึ่งในผู้ประกอบการเดินรถโดยสารธรรมดา (รถเมล์) สาย 8 ได้แถลงข่าวกรณีไม่ได้รับใบอนุญาตเดินรถในเส้นทางดังกล่าวตามเกณฑ์ที่กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) กำหนด ว่า บริษัทได้รับใบอนุญาตประกอบการจาก องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เมื่อวันที่ 1 ก.ย. 2559-31 ต.ค. 2566 เป็นระยะเวลา 7 ปี จากนั้นในปี 2561 เข้าสู่การปฏิรูปเส้นทางรถเมล์ ขบ. ได้เชิญผู้ประกอบการ เข้าร่วมในการยื่นคำขอใบอนุญาตประกอบการเดินรถดังกล่าว โดยบริษัทได้ยื่นคำขอไปเมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2564 และปลายปี 2565 ส่วนเอกสารแจ้งมายังบริษัทไม่ได้รับเลือกและผ่านคุณสมบัติ จากนั้นบริษัททำหนังสือไปยัง ขบ. เพื่อสอบถามถึงการไม่ผ่านคุณสมบัติด้วยเหตุผลอะไร
โดย ขบ. แนะนำให้ไปยื่นอุทธรณ์ ภายใน 15 วัน โดยหนังสือจาก ขบ. ลงวันที่ 29 เม.ยคำพูดจาก ทดลองปั่นสล็อต. 2565 แต่ได้รับหนังสือวันที่ 5-6 เม.ย. 2565 จากนั้นติดวันหยุดยาว เทศกาลสงกรานต์ปี 65 ทำให้บริษัทได้ทำหนังสือมาที่ ขบ. เมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2565 จากนั้นได้รับหนังสือจาก ขบ. ว่าจะขยายระยะเวลาให้ยื่นอุทธรณ์อีกภายใน 30 วัน ซึ่งบริษัทดำเนินการตามขั้นตอน แต่กลับพบว่า บริษัทยื่นอุทธรณ์เลยเวลาที่กำหนด เพราะใช้เวลา 22 วัน ซึ่งเกิน 15 วันที่กำหนดไว้ ทำให้ไม่ได้ดำเนินการยื่นอุทธรณ์ไม่ประสบความสำเร็จ และ ขบ.แนะนำให้ไปยื่นศาลปกครองในเรื่องดังกล่าวภายใน 90 วัน ซึ่งก่อนหน้านี้สมาคมพัฒนารถร่วมเอกชนซึ่งเป็นผู้ประกอบการรถรถร่วมรายเก่าที่ไม่ได้รับใบอนุญาตเดินรถ 77 เส้นทางที่ ขบ.กำหนด ได้ไปยื่นศาลแล้ว
ดังนั้น ขบ.ดำเนินการไม่โปร่งใส ไม่มีการเปิดเผยข้อมูล และขอให้ ขบ.ชี้แจงเรื่องดังกล่าวด้วยว่า บริษัทได้คะแนนในการยื่นขอใบอนุญาตประกอบการสาย 8 จำนวนเท่าไหร่ และผู้ประกอบการรายใหม่ได้รับคะแนนเท่าไหร่ เพราะบริษัทดำเนินการตามหลักเกณฑ์ยื่นคำขอทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น สภาพรถ ตัวถัง สภาพอู่จอดรถเมล์ ความพร้อมความมั่นคงของบริษัท ซึ่งบริษัทเสนอใช้รถโดยสารไฟฟ้าปรับอากาศ (อีวี) มาให้บริการ 100% โดยจะใช้จำนวน 25 คัน ภายหลังจากได้รับใบอนุญาตมีแผนจะนำรถมาบรรจุในเส้นทางภายใน 180 วัน โดยทยอยเปลี่ยนรถเมล์ใหม่มาให้บริการแทนรถเมล์ร้อนเดิมที่ให้บริการในเส้นทาง เพื่อให้ผู้โดยสารมีทางเลือกและบรรจุรถให้ครบทั้งหมดภายใน 2 ปี ซึ่งในใบอนุญาตประกอบการเดินรถครั้งนี้ ขบ. กำหนดให้คะแนนพิเศษสำหรับผู้ประกอบการในเส้นทางนี้ 10 คะแนน สำหรับการเปิดยื่นคำขอใบอนุญาตเดินรถครั้งนี้ ใบอนุญาตฯ มีอายุ 7 ปี และนี่เป็นครั้งแรกที่เป็นการเปิดขอรับตรงจาก ขบ. จากเดิมผู้ประกอบการรถร่วมของ ขสมก. ต้องขอรับสัมปทานทำสัญญาเดินรถจาก ขสมก. เท่านั้น
น.ส.ฑิราภรณ์ กล่าวต่อว่า สำหรับเส้นทางสาย 8 นี้ ได้ข้อมูลว่า ผู้ประกอบการรายใหม่จะนำรถมาให้บริการภายในเดือน ส.ค.65 โดยใช้ชื่อเส้นทางใหม่ว่า สาย 2-38 ซึ่งขณะนี้บริษัทจะรอคำชี้แจงจาก ขบ. หากมีความชัดเจนในเรื่องผลคะแนนแล้วจะยอมรับคำตัดสินและยุติการเดินรถ ซึ่งในเส้นทางดังกล่าวมีรถ 26 คัน ปัจจุบันเหลือ 10 คัน เนื่องจากประสบปัญหาขาดทุนมาต่อเนื่อง ทั้งผลกระทบจากโควิด-19 มีรายได้น้อย เดิมก่อนโควิด-19 ได้วันละ 4,000บาทต่อคันต่อวัน และช่วงโควิด-19 ลดเหลือ 1,500คันต่อวัน ทำให้ขาดทุนกว่า 2,000บาทต่อคันต่อวัน
ส่วนพนักงานที่มี 20 คน ขอยืนยันว่า พนักงานทั้งหมดไม่ตกงานแน่นอน เพราะตอนนี้ได้หารือกับผู้ประกอบการรายใหม่ที่จะมาเดินรถแทนสาย 8 แล้วว่า ขอฝากพนักงานเข้าทำงานด้วย ซึ่งผู้ประกอบการรายใหม่ได้รับปากว่าจะรับเข้าทำงานทั้งหมด
น.ส.ฑิราภรณ์ กล่าวอีกว่า สำหรับกรณีรถเมล์สาย 8 ที่ถูกร้องเรียนบริการที่ไม่ดีนั้น ขอชี้แจงว่า รถเมล์สาย 8 มีผู้ประกอบการ 3 ราย ให้บริการประมาณ 100 คัน ขณะที่เส้นทางอื่นมีให้บริการ 20-30 คัน ซึ่งความถี่ในการเดินรถก็แตกต่างกัน ซึ่งประเด็นนี้ไม่เกี่ยวกับการไม่ได้รับการคัดเลือกในการรับใบอนุญาตครั้งนี้ เพราะไม่ได้พิจารณาการให้บริการที่ไม่ดี ทั้งนี้เมื่อมีการถูกร้องเรียนที่ผ่านมาบริษัทเข้าอบรบกับ ขสมก. และ ขบ. ในเรื่องมารยาทการให้บริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาบริการที่ดีขึ้น และลบภาพลักษณ์ที่ไม่ดีได้ รวมทั้งสภาพรถเมล์ที่ว่าทรุดโทรมนั้นมีการปรับปรุงสภาพรถเพิ่มความปลอดภัยดีขึ้น
ส่วนการดำเนินการกับรถเมล์นั้น ก่อนหน้านี้ที่มีรถเมล์ 26 คัน ได้ทยอยชำแหละรถ หรือตัดชิ้นส่วนรถขายแล้วประมาณ 30-40% ซึ่งขายเป็นเศษเหล็กได้ราคา 50,000-60,000 บาทต่อคัน ขณะนี้จะหยุดดำเนินการในส่วนนี้ก่อนจนกว่าจะได้รับคำชี้แจงและความชัดเจนจาก ขบ. รวมทั้งหากพบว่าไม่ได้เดินรถแล้ว จะต้องดำเนินการถอดบัญชีรถหรือทะเบียนรถออกจากระบบของ ขบ.ด้วย
“ผู้ประกอบการรถร่วมไม่ได้รับความเป็นธรรมและความช่วยเหลือจากรัฐบาลเลย เพราะ 10 กว่าปีที่เจอปัญหาและผลกระทบมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ในปี 2551 นโยบายรถเมล์ฟรี ทำให้ผู้โดยสารนั่งรถเมล์ฟรีมากขึ้น ทำให้รายได้หาย 50%ทั้งที่ต้นทุนเท่าเดิม ต่อมาในปี 2552 สงครามอิรัก ทำให้น้ำมันแพงต้องลงทุนเปลี่ยนเครื่องยนต์มาใช้ เอ็นจีวีแทน ต้นทุนเปลี่ยน 400,000-500,000บาทต่อคัน ถัดมาในปี 2554 น้ำท่วมกรุงเทพฯ และในปี 2557-2558 ได้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐสามารถใช้บริการรถเมล์ของรัฐ ได้ยกเว้นรถเมล์ของเอกชน และในปี 2563 จนถึงปัจจุบันกว่า 2 ปีครึ่ง เจอปัญหาโควิด-19 ต่อเนื่อง ยิ่งซ้ำเติมผู้ประกอบการรถร่วมปีอีก”น.ส.ฑิราภรณ์กล่าว
สำหรับประเด็นที่ผู้ประกอบการรถร่วมบริการ ติดค้างชำระหนี้ค่าตอบแทนกับทาง ขสมก. นั้น ยอมรับว่าผู้ประกอบการฯ กว่า 90% ติดค้างชำระหนี้ โดยแบ่งเป็น รถเมล์ขนาดใหญ่กว่า 800 ล้านบาท และรถมินิบัส 600 ล้านบาท หรือรวมเป็นเงินประมาณ 1,400 ล้านบาท ซึ่งในส่วนของบริษัทฯ ติดค้างชำระหนี้ค่าตอบแทน และค่าอุบัติเหตุ ประมาณ 1 ล้านบาท จากผลกระทบดังกล่าว หลังจากนี้บริษัทจะยื่นข้อเสนอถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม โดยจะขอให้ภาครัฐยกหนี้ค่าประกันสัญญา และค่าประกันอุบัติเหตุทั้งหมด หรือให้จ่ายเพียง 5-10% ของหนี้ที่ค้างชำระ เพราะไม่เช่นนั้น นอกจากบริษัทจะไม่สามารถให้บริการได้ครบอายุสัญญาสัมปทาน ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 31 ต.ค.2566 แล้วต้องปิดกิจการไปแบบตัวเปล่าอีกด้วย
ก่อนหน้านี้ ขสมก. ได้ส่งหนังสือยกเลิกสัญญาสัมปทาน เนื่องจากที่บริษัทชำระหนี้ค่าตอบแทนไม่ตรงวันที่กำหนด ซึ่งค้างชำระตั้งแต่กลางปี 2564 เนื่องจากได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากช่วงโควิด-19 และในเวลาต่อมาได้มีเจ้าหน้าที่ของ ขสมก. ถอดสติกเกอร์ ขสมก. ออกจากรถเมล์ของบริษัทฯ พร้อมทั้งยึดเงินประกันค่าสัญญา 3 แสนบาท และค่าประกันอุบัติเหตุประมาณ 500,000-600,000บาท หรือรวมเป็นเงินกว่า 1,000,000บาท