ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาส หรือกลุ่มติดอาวุธชาวปาเลสไตน์ ยังคงดำเนินอย่างคุกกรุ่น และมีการปะทะรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตมากมาย โดยเหตุความรุนแรงนี้ เกิดขึ้นจากการที่กลุ่มฮามาสอ้างว่า ต้องการดินแดน “ปาเลสไตน์” ของตนคืนจากอิสราเอล
ซึ่งดินแดนปาเลสไตน์ คือที่ตั้งของประเทศอิสราเอลและรัฐปาเลสไตน์ในปัจจุบัน
"เยรูซาเล็ม" นครศักดิ์สิทธิ์ของ 3 ศาสนา ผ่านกาลเวลาเกือบ 4,000 ปี!
อิสราเอล โต้กลับหลังถูก “ฮิซบอลเลาะห์”ในเลบานอน โจมตีด้วยขีปนาวุธ
"เวสต์แบงก์" ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ สู่พื้นที่ขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์
ย้อนไปเมื่อปี 1566 จักรวรรดิออตโตมัน ซึ่งเป็นกลุ่มชาวเติร์กมุสลิม ขยายอำนาจมายังดินแดนปาเลสไตน์ พร้อมผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิ ทำให้ผู้ที่อาศัยในดินแดนดังกล่าว เป็นกลุ่มชนมุสลิมหรือชาวอาหรับที่เรียกว่า “ชาวปาเลสไตน์” นับแต่นั้นมาเป็นระยะเวลากว่า 352 ปี
จนกระทั่งช่วงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี 1918 จักรวรรดิออตโตมันเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ทำให้ชาติฝ่ายสัมพันธมิตร เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส ตัดสินใจให้อังกฤษ เข้ามาปกครองโดยถือเป็นหนึ่งในรัฐอารักขา พร้อมประกาศว่าดินแดนปาเลสไตน์ จะเป็นดินแดนสำหรับชาวยิว เนื่องจากรัฐบาลอังกฤษเห็นพ้องว่า มีความเห็นใจต่อขบวนการไซออนนิสต์ หรือกลุ่มชาวยิว ที่ต้องพลัดพรากจากดินแดนดั้งเดิมของตน ซึ่งก็คือดินแดนปาเลสไตน์ หรือดินแดนคานาอัน ตามพระคัมภีร์ของชาวยิว
นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ก็มีชาวยิว ผู้นับถือศาสนายูดาย หลั่งไหลเข้ามายังดินแดนปาเลสไตน์เป็นจำนวนมาก จนกระทั่งในช่วงปี 1936 – 1939 เกิดเหตุการณ์ปฏิวัติอาหรับ เนื่องจากชาวอาหรับดั้งเดิมที่อยู่บริเวณนี้มาก่อนไม่พอใจ จนเกิดความรุนแรงขึ้นระหว่างชาวอาหรับ และทหารอังกฤษกับกลุ่มชาวยิว ซึ่งนับเป็นก้าวแรกของความขัดแย้งที่จะเริ่มทวีความรุนแรงขึ้นในอนาคต
ต่อมาในปี 1947 หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 องค์การสหประชาชาติ หรือยูเอ็น ประกาศแผนแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ พื้นที่ของชาวอาหรับบริเวณเวสต์แบงก์ ติดกับประเทศจอร์แดน และพื้นที่ฉนวนกาซาในฝั่งตะวันตก ส่วนพื้นที่ที่เหลือให้ตกเป็นของชาวยิว ซึ่งต่อมาในปี 1948 กลุ่มตัวแทนชาวยิวประกาศเอกราชให้แก่ดินแดนที่ชาวยิวครอบครอง เกิดเป็น “ประเทศอิสราเอล” ส่วนฉนวนกาซายังคงเป็นดินแดนของชาวอาหรับ และดินแดนเวสต์แบงก์ถูกอ้างว่าเป็นพื้นที่ของประเทศจอร์แดน ยกเว้นกรุงเยรูซาเล็มตะวันตก
เนื่องจากชาวอาหรับไม่พอใจ ที่ยูเอ็นแบ่งพื้นที่ให้กับชาวยิว ทั้งที่ตนเป็นกลุ่มผู้อยู่อาศัยดั้งเดิม ชาวอาหรับในดินแดนปาเลสไตน์จึงร่วมกันก่อตั้ง “องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์” หรือ PLO ในปี 1964 ก่อนที่ในปี 1967 กลุ่มประเทศอาหรับอันประกอบด้วย อียิปต์ ซีเรีย จอร์แดน อิรัก ซาอุดิอาระเบีย คูเวต เลบานอน และปากีสถาน ร่วมกันทำสงครามกับอิสราเอลในสมรภูมิสงครามหกวัน จนท้ายที่สุดฝ่ายอิสราเอลเป็นฝ่ายชนะ ทำให้ชาวอาหรับแสดงความไม่พอใจมากขึ้น
ต่อมาในปี 1987 ยัสเซอร์ อาราฟัต ผู้นำกลุ่ม PLO ในขณะนั้น ดำเนินนโยบายประณีประนอมด้วยการเจรจาอย่างสันติกับ ยิตส์ฮัก ราบิน ผู้นำอิสราเอลในขณะนั้น โดยมีตัวกลางคือประธานาธิบดี บิล คลินตัน ของสหรัฐฯในขณะนั้น ทำให้ชาวอาหรับบางกลุ่มเกิดความไม่พอใจ จนแยกออกไปตั้งเป็น “กลุ่มฮามาส” พร้อมไปสร้างฐานที่มั่นบริเวณฉนวนกาซา พร้อมยึดมั่นในอุดมการณ์การยึดดินแดนปาเลสไตน์เดิมของพวกตนคืน
อย่างไรก็ตาม การเจรจาส่งผลให้กลุ่มชนชาติอาหรับ แยกมาจัดตั้งรัฐปาเลสไตน์ในปี 1988 ทำให้ “ดินแดนปาเลสไตน์” ในปัจจุบัน เป็นที่ตั้งของประเทศอิสราเอล และกลุ่มชาวอาหรับในรัฐปาเลสไตน์ และยังคงมีเหตุรุนแรงจากความขัดแย้งตั้งแต่อดีตเรื่อยมาถึงปัจจุบัน
เรียบเรียงจาก UN / Britannica / Wikipediaคำพูดจาก สล็อต777
ภาพจาก UN / Joseph Eid,Jewel SAMAD – AFP
"กลุ่มฮามาส" หาอาวุธในการถล่มอิสราเอลมาจากไหน?
สภาพอากาศวันนี้ ไทยเจอทั้งฝนทั้งหนาว! เตือน กทม.- 44 จว. ฝนตกหนัก
"จุลพันธ์" เผย เงินดิจิทัล 10,000 บาท ต้องลงทะเบียนและยืนยันตัวตนด้วย