แต่ผลสรุปอย่างเป็นทางการว่าใครจะได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนพรรคจะยังไม่ออกมา จนว่ากระบวนการเลือกตั้งขั้นต้นและการลงคะแนนเลือกตัวแทนพรรคในที่ประชุมใหญ่จะเสร็จสิ้นลงในช่วงกลางปี
ขณะนี้สายตาจับจ้องไปที่รัฐเนวาดา เนื่องจากทั้งพรรครีพับลิกันและเดโมแครตจัดการเลือกตั้งขั้นต้นที่นี่ในสัปดาห์นี้
ล่าสุดผลเลือกตั้งขั้นต้นของพรรคเดโมแครตประกาศออกมาแล้ว โดยประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้รับชัยชนะไปอย่างถล่มทลายตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์
"ไบเดน"ชนะเลือกตั้งขั้นต้นรัฐเซาท์แคโรไลนา
“ทรัมป์” เฉือนชนะ “เฮลีย์” เลือกตั้งขั้นต้นนิวแฮมป์เชียร์
การเลือกตั้งขั้นต้นหรือไพรมารีของพรรคเดโมแครตที่รัฐเนวาดาสิ้นสุดลงเมื่อวานนี้ช่วงกลางคืนตามเวลาท้องถิ่นสหรัฐฯ ผลการลงคะแนนออกมาแล้วหลังนับคะแนนไปได้ทั้งหมดร้อยละ 86 ซึ่งเป็นไปตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์
นั่นคือ โจ ไบเดนได้รับชัยชนะไปอย่างถล่มทลายที่ร้อยละ 89.3 สามารถกวาดจำนวนตัวแทนผู้ลงคะแนนหรือ delegate ไปได้ทั้งหมด เหมือนที่การเลือกตั้งไพรมารีที่เซาท์ แคโรไลนา เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ที่หลายฝ่ายให้ความสนใจคือการเลือกตั้งขั้นต้นของฝั่งรีพับลิกัน เนื่องจากมีทั้งการเลือกตั้งแบบไพรมารีในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นการหย่อนบัตรในคูหาแบบปิด และการประชุมคอคัสในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ที่กำลังจะถึงนี้ ซึ่งเป็นลงคะแนนแบบเปิดเผยในที่ประชุม
สาเหตุที่เป็นเช่นนั้น เนื่องจากรัฐเนวาดาได้ตัดสินใจเปลี่ยนกระบวนการเลือกตั้งขั้นต้นจากวิธีลงคะแนนในการประชุมคอคัส ไปเป็นการลงคะแนนแบบไพรมารี หลังจากเกิดความสับสนระหว่างการนับคะแนนจากคอคัสเมื่อปี 2020
แต่พรรครีพับลิกันยืนกรานว่าจะจัดการประชุมคอคัสให้ได้ และที่ประชุมใหญ่ของพรรคจะไม่ยอมนับคะแนนผู้สมัครจากกล่องเลือกตั้งไพรมารีที่ทางการของรัฐเนวาดาเป็นผู้จัด ทำให้พรรครีพับลิกันมีการเลือกตั้งขั้นต้นสองวัน นั่นคือการลงคะแนนแบบไพรมารีซึ่งเกิดขึ้นไปแล้ว และการประชุมคอคัสที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้
ผู้สมัครที่เลือกให้ตัวเองมีชื่ออยู่ในบัตรเลือกตั้งไพรมารีมีเพียงแค่นิกกี เฮลีย์เท่านั้น ส่วนโดนัลด์ ทรัมป์ เลือกที่จะมีชื่อเพียงแค่ในการเลือกตั้งแบบการประชุมคอคัส
สื่อสหรัฐฯ หลายแห่งรายงานว่า บรรยากาศการลงคะแนนในหีบไพรมารีของพรรครีพับลิกันค่อนข้างเงียบเหงาล่าสุด ผลการเลือกตั้งไพรมารีของพรรครีพับลิกันออกมาแล้ว โดยนิกกี เฮลีย์ได้รับคะแนนไปเพียงแค่ร้อยละ 30.8 เท่านั้น ขณะที่อีกร้อยละ 62.9 ของคะแนนเสียงระบุว่า ‘ไม่เลือกผู้สมัครคนใด’
อย่างไรก็ดี เนวาดาเป็นสนามเลือกตั้งที่เฮลีย์ไม่ได้ลงแรงหาเสียงมากนัก โดยไปหวังกวาดคะแนนที่เซาท์ แคโรไลนาที่เธอมีฐานเสียงอย่างเหนียวแน่นในช่วงปลายเดือนนี้
ทั้งนี้ ผลการเลือกตั้งว่าผู้สมัครจากพรรครีพับลิกันคนไหนจะชนะการเลือกตั้งขั้นที่รัฐเนวาดาอย่างเป็นทางการ จะประกาศออกมาหลังการประชุมคอคัสในวันพรุ่งนี้ตามเวลาสหรัฐฯ
หากพิจารณาจากกระแสทางการเมืองในขณะนี้ มีโอกาสสูงมากที่การเลือกตั้งประธานาธิบดีในเดือนพฤศจิกายนจะเป็นการแข่งขันกันระหว่างทรัมป์และไบเดนอีกครั้งคำพูดจาก เว็บสล็อตลิขสิ
อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขหนึ่งที่อาจทำให้การเผชิญกันระหว่างทรัมป์และไบเดนไม่เกิดขึ้นคือ มรสุมคดีอาญาของทรัมป์ โดยเฉพาะคดีที่เกี่ยวพันกับข้อหาพยายามล้มผลการเลือกตั้งปี 2020 จากเหตุจลาจลที่อาคารรัฐสภา
ข้ออ้างหนึ่งที่ทรัมป์ งัดขึ้นมาใช้คือ ไม่สามารถถูกดำเนินคดีจากการกระทำระหว่างที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีได้ เนื่องจากได้รับสิทธิคุ้มครอง ล่าสุดศาลอุทธรณ์ของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ออกคำตัดสินแล้วว่า ทรัมป์ไม่มีสิทธิได้รับการคุ้มครองและถูกดำเนินคดีได้
วานนี้ 6 ก.พ. ศาลอุทธรณ์ของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ หรือ Federal Appeals Court ได้ออกเอกสารคำตัดสินความยาว 57 หน้า เกี่ยวกับกรณีที่ทรัมป์ยื่นคำร้องเกี่ยวกับสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองระหว่างดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี จากการดำเนินคดีข้อหาพยายามล้มผลเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2020 ที่ทรัมป์เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ไปส่วนสำคัญของคำตัดสินระบุว่า “เราไม่สามารถยอมรับคำกล่าวอ้างของอดีตประธานาธิบดีทรัมป์ที่ว่า ประธานาธิบดีจะได้รับการคุ้มครองอย่างไม่มีขอบเขตในการก่อความผิดทางอาญา ซึ่งจะเป็นการลบล้างหลักการพื้นฐานว่าด้วยตรวจสอบอำนาจฝ่ายบริหาร นั่นคือการยอมรับและการดำเนินการตามผลการเลือกตั้ง”
และ “เราไม่สามารถอนุมัติข้อโต้แย้งที่ว่า ฝ่ายบริหารมีอิสระที่จะละเมิดสิทธิของพลเมืองในการลงคะแนนเสียงและการนับคะแนนเสียงที่ลงไป”
นอกจากนี้ ส่วนหนึ่งของเอกสารยังระบุด้วยว่า ขณะนี้อดีตประธานาธิบดีทรัมป์ได้กลายเป็น ‘นายทรัมป์’ แล้วเท่านั้น
โดยคณะผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ทั้งหมด 3 คนลงมติเอกฉันท์ว่า ทรัมป์จะไม่ได้รับสิทธิคุ้มครองและสามารถถูกดำเนินคดีได้ สิทธิคุ้มครองระหว่างดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี หรือ presidential immunity ที่ทรัมป์หยิบยกขึ้นมาใช้คืออะไร
แม้สิทธิดังกล่าวจะไม่ได้ถูกระบุในรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ อย่างชัดเจน แต่ตามธรรมเนียมทางกฎหมาย ผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีมีสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองจากการดำเนินคดีความต่างๆ หลายประเภทจากการปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นทางการ
คดีประเภทหนึ่งที่ศาลสูงสุดสหรัฐฯ หรือ Supreme Court เคยตัดสินและกลายเป็นแนวทางว่าประธานาธิบดีจะได้รับการคุ้มครองคือความผิดทางแพ่ง เว้นเสียแต่ว่าความผิดดังกล่าวจะเป็นการกระทำส่วนบุคคล ไม่ใช่ในฐานะประธานาธิบดี
สาเหตุที่ประธานาธิบดีควรได้รับการคุ้มครองจากการดำเนินคดีแพ่งอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ เป็นไปเพื่อปกป้องประธานาธิบดีจากใช้กฎหมายคุกคาม และกระบวนการทางศาลที่อาจขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่
อย่างไรก็ตาม ในอดีตไม่เคยมีการตัดสินมาก่อนว่า สิทธิคุ้มครองประธานาธิบดีครอบคลุมไปถึงความผิดทางอาญาด้วยหรือไม่
หลังทรัมป์ถูกรัฐบาลกลางยื่นฟ้องในความผิดที่เกี่ยวข้องกับความพยามล้มผลการเลือกตั้งเมื่อปี 2020 และการขัดขวางกระบวนการรับรองผลเลือกตั้ง
ทรัมป์และทนายความก็พยายามยื่นคำร้องต่อศาลของรัฐบาลกลางว่า สิทธิดังกล่าวควรขยายขอบเขตการคุ้มครองไปถึงคดีอาญาด้วย ดังนั้น ทรัมป์จึงควรได้รับสิทธิคุ้มครองจากข้อหาพยายามล้มผลเลือกตั้ง โดยอ้างว่าการกระทำดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างทรัมป์ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี
แต่แจ็ค สมิธ อัยการพิเศษประจำคดีล้มผลเลือกตั้ง แย้งว่าการกระทำของทรัมป์ในเหตุจลาจลบุกรัฐสภา อยู่นอกเหนือบทบาทประธานาธิบดี อีกทั้งรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ ไม่ได้ให้การคุ้มครองดังกล่าว
และคำตัดสินของศาลอุทธรณ์ที่ออกมาเมื่อวานนี้ก็ชี้ชัดแล้วว่า ทรัมป์ไม่จะไม่ได้รับสิทธิในการคุ้มครอง เนื่องจากกระทำผิดหลังลงจากตำแหน่งแล้ว และการยอมรับคำค้านของทรัมป์จะนำไปสู่การขยายขอบเขตอำนาจบริหารที่เกินเลย
ด้านจอห์น ซี. คอฟฟี ศาสตราจารย์ด้านกฎหมายประจำมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ให้ความเห็นและวิเคราะห์คำตัดสินของศาลอุทธรณ์ของรัฐบาลกลาง
โดยสะท้อนให้เห็นว่า ไม่มีใครสามารถอยู่เหนือกฎหมายสหรัฐฯ ได้ แม้จะเคยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีที่มีสิทธิได้รับการคุ้มครองก็ตาม
นี่หมายความว่า ทรัมป์จะไม่สามารถหลีกเลี่ยงข้อหาและกระบวนการไต่สวนต่างๆ ที่จะตามมาในอนาคตได้อย่างไรก็ตาม คำตัดสินของศาลอุทธรณ์ยังไม่ใช่จุดสิ้นสุด เนื่องจากทรัมป์และทีมทนายสามารถส่งคำร้องให้ศาลสูงสุดวินิจฉัยต่อได้
แต่หากไม่ยื่นคำร้องภายในวันที่ 12 กุมภาพันธ์นี้ กระบวนการพิจารณาคดีล้มผลเลือกตั้งก็จะกลับมาดำเนินการต่อ แต่ล่าสุด โฆษกประจำตัวทรัมป์ได้ออกมาระบุแล้วว่า ทรัมป์จะยื่นอุทธรณ์อย่างแน่นอน
ทั้งนี้ การหยิบยกสิทธิคุ้มครองประธานาธิบดีขึ้นมาของทรัมป์ ไม่ได้มีจุดประสงค์หลักเพื่อทำให้ทรัมป์รอดคดี แต่เป็นกลยุทธ์เพื่อถ่วงและยืดเวลาพิจารณาคดีความออกไปในช่วงที่การหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีทวีความเข้มข้น
ดังนั้นสิ่งที่ต้องจับตาต่อไปคือ ศาลสูงสุดจะรับพิจารณาคำร้องหรือไม่ และถ้าหากรับคำร้อง ศาลสูงสุดจะเร่งกระบวนการตัดสินใจก่อนการเลือกตั้งหรือไม่
9 ก.พ. ไหว้ตรุษจีน 2567 จุดธูปกี่ดอก เวลาไหนดี พร้อมทิศมงคลเสริมเฮง
สภาพอากาศวันนี้ ไทยตอนบนอุณหภูมิสูงขึ้น กทม. – 8 จังหวัด ฝนฟ้าคะนอง
พบ"น้องพร"มีโทรศัพท์อีกเครื่องใช้ติดต่อ"ช่างกิต"