“รัฐบาลเศรษฐา” ประกาศล้างหนี้คนไทยทั้งระบบ จากข้อมูลหนี้ครัวเรือนล่าสุดหนี้ครัวเรือนไทย มีทั้งสิ้น 16 ล้านล้านบาท คิดเป็น 90% ของจีดีพี ล่าสุดเมื่อวันที่ 12 ธ.ค. 66 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง พร้อมคณะ แถลงแนวทางจัดการหนี้ทั้งระบบ จากก่อนหน้านี้ลุยแก้หนี้นอกระบบไปแล้ว และถึงเวลาของการแก้หนี้ในระบบที่กำลังมีปัญหาไม่น้อยไปกว่ากัน
ในจำนวนหนี้ครัวเรือน 16 ล้านล้านบาท รัฐบาลได้ให้ข้อมูลว่า มีหนี้ที่มีปัญหาทั้งหมด 5 ล้านราย รวม 12 ล้านบัญชี ซึ่งนับรวมหนี้เสีย NPL คือค้างชำระเกิน 90 วัน และหนี้กำลังจะเสียหรือค้างชำระตั้งแต่ 30-90 วัน เรียกว่า SM เมื่อนับรวมหนี้ทั้งระบบที่รัฐบาลต้องการแก้ไขให้จบในรัฐบาลชุดนี้ รวมแล้วมีอยู่ทั้งสิ้นกว่า 10.3 ล้านรายคำพูดจาก รวมสล็อตทดลองเล่น
ลูกหนี้ในระบบสถาบันการเงินที่รัฐบาลต้องการแก้ไขครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
1คำพูดจาก ทดลองเล่น. ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 : ขาดสภาพคล่องทำให้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ กลายเป็นหนี้เสียและมีประวัติค้างอยู่ในเครดิตบูโร
2. กลุ่มที่มีรายได้ประจำแต่มีภาระหนี้จำนวนมาก : ภาระหนี้เกินศักยภาพในการชำระหนี้ เช่น ข้าราชการ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำรวจ ทหาร และหนี้บัตรเครดิต เป็นต้น
3. กลุ่มที่มีรายได้ไม่แน่นอน : การชำระคืนหนี้ไม่ต่อเนื่อง เช่น เกษตรกร ลูกหนี้เช่าซื้อและลูกหนี้เช่าซื้อแบบลีสซิ่งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ลูกหนี้ กยศ. เป็นต้น
4. กลุ่มที่เป็นหนี้เสียคงค้างกับสถาบันการเงินมาเป็นเวลานาน : มีประวัติค้างอยู่ในเครดิตบูโร ไม่สามารถขอสินเชื่อเพิ่มได้
สำหรับแนวทางการแก้หนี้ให้กับประชาชนกว่า 10.3 ล้านราย ดังนี้
- กลุ่มเกษตรกร : พักหนี้ เกษตรกรทั้งต้นและดอกในวงเงินไม่เกิน 300,000 บาทต่อราย เป็นเวลา 3 ปี (ดำเนินการได้เลย ครม. มีมติเมื่อวันที่ 26 ก.ย. 66)
- กลุ่มนักศึกษา : ลดดอกเบี้ย ปรับแผนจ่ายเงิน ปลดผู้ค้ำประกัน ถอนอายัดบัญชี (ดำเนินการได้เลย ผ่านคณะกรรมการ กยศ.)
- กลุ่มครูและข้าราชการ : หักไม่เกิน 70% ของเงินเดือน ให้มีเงินเหลือ 30% ของเงินเดือน และจัดทำสวัสดิการเงินกู้ข้าราชการ ดอกเบี้ยต่ำ (ดำเนินการได้เลย)
- กลุ่มบัตรเครดิต : ปรับโครงสร้างหนี้ ผ่าน “คลินิกแก้หนี้” ผ่อนได้นานถึง 10 ปี ลดดอกเบี้ยเหลือ 3-5% ต่อปี (ดำเนินการได้เลย)
- กลุ่มสินเชื่อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ : กำหนดให้สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาควบคุม โดยให้รถยนต์ คิดดอกเบี้ยไม่เกิน 10% และรถมอเตอร์ไซค์ คิดดอกเบี้ยไม่เกิน 23% (ดำเนินการได้เลย สคบ. ประกาศ 12 ต.ค. 65)
- กลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม SME : ยกเลิกสถานะหนี้เสียสำหรับ SME ที่ได้รับผลกระทบจากโควิดและอนุญาตให้ปรับโครงสร้างหนี้ พักหนี้ 1 ปี ลดดอกเบี้ย 1% (คาดเริ่ม 1 ม.ค. 67)
- กลุ่มหนี้นอกระบบ : ให้นายอำเภอและตำรวจในท้องถิ่นช่วยเจรจาประนอมหนี้สำหรับผู้ที่จ่ายเงินต้นครบถ้วนแล้ว (เริ่มลงทะเบียน 1 ธ.ค. 66)
- กลุ่มหนี้เสีย NPL : ตั้งบริษัท Joint Venture ระหว่างแบงก์รัฐกับบริษัทบริหารสินทรัพย์เพื่อรับโอนหนี้เสีย (คาดเริ่มไตรมาสแรกปี 67)
(ที่มา : รัฐบาล ณ 12 ธ.ค. 66)